วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของ Hardware, Software และ Peopleware

ที่มา : http://www.easytechtips24.com/what-is-computer-hardware-mean


                  Hardware หมายถึง อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ ที่เราสามารถรับรู้ มองเห็น สัมผัสได้ 
ยกตัวอย่างเช่น จอคอมพิวเตอร์ เมาส์ คีย์บอร์ด CD/DVD Flash Drive เป็นต้น
เราสามารถจำแนกฮาร์ดแวร์ตามความสามารถได้ 5 ส่วน ดังนี้

    1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)  ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น คีย์บอร์ด
    2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit - CPU) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ  เช่น ซีพียูของ Computer นั่นเอง
     3. หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล  เช่น แรม , Harddisk
     4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว เช่น ลำโพงคอมพิวเตอร์
     5. อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม เป็นต้น





     Software  หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่เราใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ ซึ่งไม่ว่าคอมพิวเตอร์ของเราจะมี Hardware ดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่มี Software ที่จำเป็น เราก็จะไม่สามารถทำงานได้ เช่น ถ้าต้องการฟังเพลง ก็จำเป็นจะต้องมีโปรแกรมสำหรับฟังเพลง ซึ่งเรียกได้อีกอย่างคือ Software  นั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คำสั่งจะต้องเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ  หรือโปรแกรมก็จะต้องเขียนจากคอมภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ  ซึ่งภาษานี้เราจะเรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา C , COBOL เป็นต้น

      Software  จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ 2 เภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Softwaer) 

1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)   มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้

      ระบบปฎิบัติการ : OS (Operating System)  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการ เพื่อใช้ควบคุมดูแลส่วนต่างๆ ให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการจัดการไฟล์ เปิด/ปิดไฟล์ต่างๆ การส่งข้อมูลเพื่อให้หน้าจอแสดงผล ส่งข้อมูลไปยังปรินเตอร์ เป็นต้น   ตัวอย่างระบบปฎิบัติที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันดี  เช่น Windows XP , Windows 7 , Windows 8 , Mac OS เป็นต้น

      ตัวแปลภาษา    ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก

2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

     โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program)  เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมาโดยบริษัทต่าง ๆ เพื่อจำหน่าย โดยที่ User สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้ทันที  ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Microsoft Word , Adobe Photoshop เป็นต้น

      โปรแกรมเฉาะ (User Program) เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนมาใช้เอง  โดยใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ทางคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา  C , COBOL , Basic เป็นต้น ซึ่งการที่จะเลือกใช้ภาษาใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเหล่านั้นด้วย เช่น โปรแกรมระบบบัญชี, โปแกรมควบคุมสต็อกสินค้า, โปแกรมแฟ้มทะเบียนประวัติ โปรแกรมคำนวณภาษี,โปรแกรมคิดเงินเดือน เป็นต้น


ที่มา : http://creattica.com/vector/the-programmer/39902

Peopleware (บุคลากร) หมายถึง บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมด  ซึ่งสามารถแบ่งตามความสามารถและหน้าที่ ได้ดังนี้

 ผู้จัดการระบบ (System Manager)  คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)   คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

 โปรแกรมเมอร์ (Programmer)  คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

 ผู้ใช้ (User)   คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ




   



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น