วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

collaborative learning การเรียนแบบร่วมมือ


ความหมาย

          เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย  โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งในงานวิจัยนี้เรียก Cooperative Learning ว่า การเรียนแบบร่วมมือ
         

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม  

1. ขั้นเตรียมการ
ผู้สอนชี้แจงจุดประสงค์ของบทเรียน
ผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย  กลุ่มละประมาณไม่เกิน  6  คน  มีสมาชิกที่
มีความสามารถแตกต่างกัน  ผู้สอนแนะนำวิธีการทำงานกลุ่มและบทบาทของสมาชิกในกลุ่ม

2. ขั้นสอน
ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียน  บอกปัญหาหรืองานที่ต้องการให้กลุ่มแก้ไขหรือคิด
วิเคราะห์  หาคำตอบ
ผู้สอนแนะนำแหล่งข้อมูล  ค้นคว้า หรือให้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการคิดวิเคราะห์
ผู้สอนมอบหมายงานที่กลุ่มต้องทำให้ชัดเจน

3. ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม
ผู้เรียนร่วมมือกันทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ  ทุกคนร่วมรับผิดชอบ ร่วมคิด  
ร่วมแสดงความคิดเห็น การจัดกิจกรรในขั้นนี้  ครูควรใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ  ที่น่าสนใจและเหมาะสมกับผู้เรียน  เช่น  การเล่าเรื่องรอบวง  มุมสนทนา  คู่ตรวจสอบ  คู่คิด  ฯลฯ
ผู้สอนสังเกตการณ์ทำงานของกลุ่ม  คอยเป็นผู้อำนวยความสะดวก  ให้ความ
กระจ่างในกรณีที่ผู้เรียนสงสัยต้องการความช่วยเหลือ

4. ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ  ขั้นนี้ผู้เรียนจะรายงานผลการทำงานกลุ่ม  
ผู้สอนและเพื่อนกลุ่มอื่นอาจซักถามเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจน  เพื่อเป็นการตรวจสอบผลงาน
ของกลุ่มและรายบุคคล

5. ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานกลุ่ม  ขั้นนี้ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกัน
สรุปบทเรียน  ผู้สอนควรช่วยเสริมเพิ่มเติมความรู้  ช่วยคิดให้ครบตามเป้าหมายการเรียนที่กำหนดไว้  และช่วยกันประเมินผลการทำงานกลุ่มทั้งส่วนที่เด่นและส่วนที่ควรปรับปรุงแก้ไข

ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ

1.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก  เพราะทุก ๆ คนร่วมมือในการทำงานกลุ่มทุก ๆ คน มีส่วนร่วมเท่าเทียมกันทำให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียน
2.ส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนมีโอกาสคิด  พูด  แสดงออก  แสดงความคิดเห็น  ลงมือกระทำอย่างเท่าเทียมกัน
3.ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
4.ทำให้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  การร่วมคิด นำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน  เป็นการส่งเสริมให้ช่วยกันคิดหาข้อมูลให้มาคิดวิเคราะห์และเกิดการตัดสินใจ
5.ส่งเสริมทักษะทางสังคม  ทำให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวในการอยู่ร่วมกันด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  เข้าใจกันและกัน
6.ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น               

หัวใจสำคัญ

        การเรียนแบบร่วมมือ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่นักเรียนมีความสามารถแตกต่างกันโดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในการเรียนร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งนักเรียนจะบรรลุถึงเป้าหมายของการเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่มไปถึงเป้าหมายเช่นเดียวกัน ความสำเร็จของตนเองก็คือความสำเร็จของกลุ่มด้วย






Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน



ความหมาย

      การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น คือ
     - รวม รูปแบบการเรียนการสอน
     - รวม วิธีการเรียนการสอน
     - รวม การเรียนแบบออนไลด์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนการเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่ อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนกับ การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่ แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่าง รวดเร็วซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามา สู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียนการสอนใน ชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียน แบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการ เติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีก ด้วย

ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบผสมผสาน
     1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
     2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
     3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
     4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
     5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
     6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
     7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
     8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
     9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่)
   10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่)
   11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่)
   12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่)
   13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
   14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
   15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง
   16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้

ข้อเสียของการเรียนรู้แบบผสมผสาน

   1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว
   2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์
   3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน
   4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง)
   5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software
   6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง
   7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
   8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้
   9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
  10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญ

หัวใจหลัก

        Blended learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี , blended learning มีการใช้
งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว , เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนแบบออนไลน์ ,
สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของ Game Online

   

ที่มา :  http://cabal.asiasoft.co.th/images/Wallpaper/Collection_1600_1200.jpg


     Game Online หมายถึง เกมที่ผู้เล่นจะต้องเล่นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต  ซึ่งหากผู้เล่นไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ก็ไม่สามารถเล่นเกมออนไลน์ได้  เกมออนไลน์เป็นเกมที่ผู้เล่นทั่วโลกจะสามารถเล่นเกมด้วยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันภายในเกม  การพูดคุยผ่านระบบออนไลน์ (Chat)

ความหมายของ Edutainment

     

ที่มา : http://edu_training.igetweb.com/article/art_483265.jpg


    Edutainment   คือ การศึกษาเชิงหรรษา  เป็นการนำความบันเทิงเข้ามาใช้จัดการศึกษา อาทิ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ พิพิธภัณฑ์ Software เกมส์ website เป็นต้น เพราะ สิ่งบันเทิงสามารถสร้างความสนใจได้มากกว่าการเรียนตามปกติ

ความหมายของ E-Learning / Learning Management System / M-Learning


ที่มา :    http://acit.npru.ac.th/webdev/u_news/news_files/20080515154807_20080511063350_20080507070702_logo_elearning.jpg


       E-Learning   หมายถึง การเรียนผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม

       Learning Management System  หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

      M-Learning (mobile learning)  คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป   (Instruction Package)  ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สายและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ  ผู้เรียนและผู้สอนใช้เครื่องมือสำคัญ คือ อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้โดยสะดวกและสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณแบบเวลาจริง ได้แก่  Notebook Computer, Portable computer, Tablet PC, Cell  Phones

ความหมายของ สารานุกรมออนไลน์



ที่มา :  https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgCU0pIUX6YQYMmuaGo4It8IuoLbWXTZUrlcMpy0AoEGyBjExZBzgarpVY6xfegEe6_CXNQZGu5e1n1k-QiiojTRPwg_UTAFhpRaguDG5r0ORvohE8NnNA70bDO7dg5xt-0nAdXs1r9yRzs/s400/450px-Wikipedia-th_f0nt09%5B1%5D.png

       สารานุกรมออนไลน์ หมายถึง แหล่งรวมความรู้หลายๆ แขนง ในลักษณะอธิบายขยายความในเรื่องนั้นๆ ที่อยู่บน Internet  เช่น Wikipedia

ความหมายของ webboard / Internet forum


ที่มา : http://www.freeupload2u.com/images/webboard.jpg

           กระดานสนทนา (Webboard) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นกระดาน แจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งเป็นที่นิยมใช้บนอินเตอร์เน็ตเป็นอันมาก กระดานสนทนา (Webboard) อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ และสามารถแยก หัวข้อต่างๆ ออกเป็นกระทู้ๆ มีความโต้ตอบกันในการสนทนา กล่าวได้ว่า WebBoard คือพัฒนาการรูปแบบใหม่ของ ระบบสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น บนอินเตอร์เน็ต เช่น Pantip.com

         Internet Forum คือบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตสำหรับการแสดงความคิดเห็นหรืออภิปราย ทำให้เกิดชุมชนเสมือนจริง(virtual community) ซึ่งจะแยกหัวข้อการอภิปรายตามหัวข้อความสนใจเฉพาะกลุ่ม

ความหมายของ Web search engine


ที่มา : http://www.emarketing.in.th/emarketing-images/Image/news/img_online-marketing8.gif

         Web search engine  หมายถึง โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล เช่น Google,YAHOO! โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย  เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป  

ความหายของ File Transfer Protocol : FTP


ที่มา : http://multimedia.journalism.berkeley.edu/tutorials/ftp/


        File Transfer Protocol : FTP  เป็นระบบโอนย้ายไฟล์ข้ามระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความปลอดภัยพอสมควร โดยใช้โปรโตคอล TCP เป็นกลไกขนส่งข้อมูล การเข้าใช้งานผู้ใช้จะต้องแนะนำตนเองต่อเซิร์ฟเวอร์ด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน จากนั้นจะแสดงชื่อโฟล์เดอร์และชื่อไฟล์ที่มีอยู่ออกมา ความสามารถของ FTP ทำให้ไคลเอนต์โอนย้ายไฟล์ ระหว่างไคลเอนต์ และ FTP Server ได้ รวมทั้งระหว่างเครื่องสองเครื่องที่อยู่ห่างไกลกัน

ความหมายของ E-mail


ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEivHSTcQbUdkiYY9BcS26fdXkXh_QvQGyzeNEemcjxXKU8qAHgdphodfkas9NpZS1TSEFuNbAKgNoXLIa4_SHaczr6xslyBp9eNi50hyphenhyphenc2UZODfwbmIAXO0OeNG_m9an8k4HmalJ5_d0hg/s320/e-mailicon.jpg

 E-mail  ย่อมาจาก  EIectronic-Mail  หมายถึง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายของ E-Commerce


ที่มา : http://ebaysmethai.com/wp-content/uploads/2012/05/logo-ecommerce-1.2.jpg

     การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce ) หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น การซื้อ/ขาย สินค้าผ่าน Internet  การโอนเงินออนไลน์  การการโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

ความหมายของ Internet / Intranet


ที่มา : http://ec.europa.eu/digital-agenda/sites/digital-agenda/files/future_internet.jpg


        อินเตอร์เน็ต (Internet) ย่อมาจากคำว่า Inter Connection Network  คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน  โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย  ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเตอร์เน็ตสามารถสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน
        อินทราเน็ต (Intranet)  เหมือนกับ  Internet  เพียงแต่อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กภายในองค์กรที่มีเจ้าของแน่นอนและถูกควบคุมโดยองค์กรหรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของ  เช่น ระบบเครือข่าย  Intranet ของ ม.เกษตรศาสตร์ , E-mail เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของ Hardware, Software และ Peopleware

ที่มา : http://www.easytechtips24.com/what-is-computer-hardware-mean


                  Hardware หมายถึง อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ ที่เราสามารถรับรู้ มองเห็น สัมผัสได้ 
ยกตัวอย่างเช่น จอคอมพิวเตอร์ เมาส์ คีย์บอร์ด CD/DVD Flash Drive เป็นต้น
เราสามารถจำแนกฮาร์ดแวร์ตามความสามารถได้ 5 ส่วน ดังนี้

    1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)  ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น คีย์บอร์ด
    2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit - CPU) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ  เช่น ซีพียูของ Computer นั่นเอง
     3. หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล  เช่น แรม , Harddisk
     4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว เช่น ลำโพงคอมพิวเตอร์
     5. อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม เป็นต้น





     Software  หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่เราใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ ซึ่งไม่ว่าคอมพิวเตอร์ของเราจะมี Hardware ดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่มี Software ที่จำเป็น เราก็จะไม่สามารถทำงานได้ เช่น ถ้าต้องการฟังเพลง ก็จำเป็นจะต้องมีโปรแกรมสำหรับฟังเพลง ซึ่งเรียกได้อีกอย่างคือ Software  นั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คำสั่งจะต้องเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ  หรือโปรแกรมก็จะต้องเขียนจากคอมภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ  ซึ่งภาษานี้เราจะเรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา C , COBOL เป็นต้น

      Software  จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ 2 เภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Softwaer) 

1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)   มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้

      ระบบปฎิบัติการ : OS (Operating System)  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการ เพื่อใช้ควบคุมดูแลส่วนต่างๆ ให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการจัดการไฟล์ เปิด/ปิดไฟล์ต่างๆ การส่งข้อมูลเพื่อให้หน้าจอแสดงผล ส่งข้อมูลไปยังปรินเตอร์ เป็นต้น   ตัวอย่างระบบปฎิบัติที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันดี  เช่น Windows XP , Windows 7 , Windows 8 , Mac OS เป็นต้น

      ตัวแปลภาษา    ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก

2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

     โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program)  เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมาโดยบริษัทต่าง ๆ เพื่อจำหน่าย โดยที่ User สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้ทันที  ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Microsoft Word , Adobe Photoshop เป็นต้น

      โปรแกรมเฉาะ (User Program) เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนมาใช้เอง  โดยใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ทางคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา  C , COBOL , Basic เป็นต้น ซึ่งการที่จะเลือกใช้ภาษาใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเหล่านั้นด้วย เช่น โปรแกรมระบบบัญชี, โปแกรมควบคุมสต็อกสินค้า, โปแกรมแฟ้มทะเบียนประวัติ โปรแกรมคำนวณภาษี,โปรแกรมคิดเงินเดือน เป็นต้น


ที่มา : http://creattica.com/vector/the-programmer/39902

Peopleware (บุคลากร) หมายถึง บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมด  ซึ่งสามารถแบ่งตามความสามารถและหน้าที่ ได้ดังนี้

 ผู้จัดการระบบ (System Manager)  คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)   คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

 โปรแกรมเมอร์ (Programmer)  คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

 ผู้ใช้ (User)   คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ




   



วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายและอธิบาย GPRS,3G และ GPS

     


GPRS (General Packet Radio Service)  คือเทคโนโลยีในการรับ-ส่งข้อมูล ที่พัฒนาขึ้นมาภายใต้พื้นฐานของระบบเครือข่ายแบบ GSM ซึ่งทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ ได้เร็วขึ้น และจะมีการส่งข้อมูลเป็นแบบ Packet ซึ่งในปัจจุบันการคิดค่าบริการ GPRS จะหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากมีทั้งคิดค่าบริการตามจำนวนข้อมูล คิดค่าบริการตามเวลา หรืออาจจะเป็นการจ่ายเหมารายเดือนเพื่อสามารถใช้ได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย

     GPS (Global Positioning System)  คือเทคโนโลยีการสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการระบุตำแหน่ง ติดตาม หรือนำทาง สำหรับยวดยานพาหนะ หรือบุคคล โดยจะใช้การทำงานร่วมกันของดาวเทียม Geosynchronous เพื่อระบุตำแหน่งได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง

     3G  (Third  Generation)  เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล   และ  เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน  เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ  Walkman,  กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ต 3G  เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่  2  และ  2.5   ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง   แล ะ  การส่งข้อมูลในขั้นต้น  ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก  การพัฒนาของ  3G   ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย  และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

               ยุค 1G   เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ การรับส่งสัญญาณใช้วิธีการมองดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ   ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ   และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ   จึงติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย    และการขยายแถบความถี่   ประจวบกับระบบเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุกำหนดขนาดของเซล และความแรงของสัญญาณ   เพื่อให้เข้าถึงสถานีเบสได้   ตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่   ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก  ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล  และการเข้าช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 1G จึงใช้เฉพาะในยุคแรกเท่านั้น

               ยุค 2G  เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลงเหลือเพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ TDMA คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก กับอีกแบบหนึ่งเป็นการแบ่งการเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP เราเรียกวิธีการนี้ว่า CDMA - Code Division Multiple Access ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว

               ยุค  2.5G    การสื่อสารไร้สายยุค   2.5G  ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยี    ในระดับ 2G   แต่มีประสิทธิ  -  ภาพด้อยกว่ามาตรฐานการสื่อสารไร้สายยุค  3G  โดยเทคโนโลยียุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล   แบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ  20 – 40 Kbps   ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5G

                ยุค 3G   เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้  โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่าได้  และเรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS)   โดยมุ่งหวังว่า การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย    สามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย  เช่น  จากคอมพิวเตอร์   จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคงใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็นแบบ   CDMA   ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณเสียงได้มากกว่า  แต่ใช้แบบแถบกว้าง (wideband) ในระบบนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า WCDMA
          

ที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/Literacy/computer/3g/what%203g.html

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คำศัพท์ IT วันนี้ (11/11/56)


Web page  หมายถึง  เอกสาร ข้อมูล โดยจะอยู่ในรูปแบบ ของ html พูดง่ายๆก็คือ เป็นหน้าที่แสดงผลอยู่ตอนนี้นี่เอง ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเอกสารอื่นๆ ด้วยไฮเปอร์ลิงค์ ตามที่แสดงในรูป




Web Site  หมายถึง  การเรียกชื่อกลุ่มก้อนของเว็บเพจรวมกันหลายๆหน้า  เช่น www.saknarong461.blogspot.com


Homepage  หมายถึง  หน้าแรกของเว็บไซต์ เช่นเมื่อเราพิมพ์ www.saknarong461.blogspot.com  ก็จะแสดงหน้าแรกของเว็บเพจ ก่อนเสมอ เปรียบได้กับสารบัญของเว็บเพจนั่นเอง


 
ที่มา : http://www.tukkaeit.com/uploads/picfile/24012012083506-upload-download-buttons-vector.jpg

Upload  หมายถึง การโอนย้ายไฟล์หรือข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกทีหนึ่ง เช่น การโอนไฟล์หรือว่าข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ไปไว้บน อินเตอร์เน็ต หรือว่า โอนไฟล์ไปไว้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่มีการเชื่อมต่อกันอยู่



Download หมายถึง คือการโอนย้ายไฟล์หรือข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกทีหนึ่ง เช่น การโอนไฟล์หรือว่าข้อมูลมาจาก อินเตอร์เนต หรือว่า จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ เข้ามาบันทึกเอาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา




ที่มา : http://bigarise.com/wp-content/uploads/2013/09/internet-browser-shortcut-keys.jpg

Browser  หมายถึง คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
Internet Explorer
Mozilla Firefox
Google Chrome
Safari



 Mbps หรือ Mbit/s ย่อมาจาก Megabit Per Second  หมายถึง  หน่วยที่ใช้วัดอัตราความเร็วในการส่งหรือรับข้อมูลต่อ 1 วินาที ซึ่งหมายถึงหนึ่งล้านบิตต่อวินาที เป็นการวัด Bandwidth (การไหลรวมของสารสนเทศในเวลากำหนด) บนตัวกลางโทรคมนาคม ช่วงของ bandwidth ขึ้นกับตัวกลางและวิธีการส่ง
ตัวอย่าง Mbps ที่มักพบเห็นได้บ่อย อย่างการวัดความเร็วอินเตอร์ เป็นต้น


ที่มา : http://facebook.maahalai.com/wp-content/uploads/2011/08/html-icon.png

HTML  หมายถึง  หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup หมายถึง วิธีในการเขียนข้อความ language หมายถึงภาษา ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนข้อความ ลงบนเอกสารทีต่างก็เชื่อมถึงกันใน cyberspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง



PHP  หมายถึง   ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว



ASP  หมายถึง เพจ HTML ที่รวบรวมคำสั่งสคริปต์ (script) หนึ่งหรือมากกว่าที่ประมวลผลบน Microsoft web server ก่อนที่เพจจะส่งไปยังผู้ใช้ ในบางลักษณะ ASP คล้ายกับ server-include หรือการประยุกต์แบบ common gateway interface ซึ่งเป็นการทำงานโดยการประมวลผลบนเครื่องแม่ข่ายและปรับปรุงเพจ สำหรับผู้ใช้ตามปกติคำสั่งสคริปต์ในเว็บเพจที่เครื่องแม่ข่ายใช้การนำเข้า เป็นผลลัพธ์ของคำขอของผู้ใช้ สำหรับเพจที่ต้องเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลและสร้างหรือเจาะจงเพจแบบ on the fly ก่อนส่งไปให้ผู้ขอ



ที่มา : http://www.w3.org/html/logo/downloads/HTML5_Logo_512.png

HTML 5 เป็นการพัฒนาต่อมาจากภาษา HTML และพัฒนาขึ้นมาโดย WHATWG (The Web Hypertext Application Technology Working Group) โดยได้มีการปรับเพิ่ม Feature หลายๆอย่างเข้ามาเพื่อให้ผู้พัฒนาสามารถใช้งานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น


Web application  หมายถึงโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้สำหรับเว็บ ซึ่งเป็น client-sever กล่าวคือ โปรแกรมที่ใช้ครั้งหละหลายๆคน พร้อมกันได้ โดยข้อมูลจะอยู่ที่ส่วนกลาง

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ


ที่มารูปภาพ : http://market.onlineoops.com/677668

          ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารมีบทบาทสำคัญมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป้น  การโอนเงินผ่านระบบออนไลน์ ช่วยประหยัดเวลาในการทำธุรกรรมการเงินได้มาก  การฝากไฟล์ไว้กับเซิฟเวอร์  เช่น ถ้าเราจะนำเสนองานแต่ไม่มีที่เก็บไฟล์หรืออยากจะสำรองไฟล์ไว้เผื่อสูญหาย ก็สามารถฝากไฟล์ไว้กับผู้ให้บริการอื่นๆ ได้ เช่น  Google drive , 4sheard  เป็นต้น   ความบันเทิง/การรับข่าวสาร ผ่านระบบออนไลน์  ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องมานั่งอ่านหนังสือพิมพ์ หรือ รอรายการโปรดของเราทาง TV 

          เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ ก็เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันสูง มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย แทบจะมาแทนที่ คอมพิวเตอร์ PC หรือ Notebook เลยก็ว่าได้  ไม่จะจะเป็นระบบ แอนดรอย , IOS , Windows phone 

ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีให้ทันเหตุการณ์ เพื่อที่จะใช้ประโยชน์กับเทคโนโลยีปัจจุบันได้สูงสุด และไม่กเป้นเหยื่อของเทคโนโลยีในปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร



ที่มา : http://punchanit1997.blogspot.com/

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   หมายถึง

         ข้อมูลที่ได้ถูกผ่านกระบวนการต่างๆ กลั่นกรองมาเป็นข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งเป็นทั้งเทคโนโลยีและการสื่อสาร อาจเรียกได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่

ที่มา : http://www.l3nr.org/posts/179976


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

ที่มา : http://talabah.yiu.ac.th/aiyanaalee/2012/11/22/8/

1.ค้นหาความรู้
2.รับข่าวสารใหม่ๆ
3.ดูหนัง
4.ฟังเพลง
5.แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นในเรื่องราวที่สนใจ
6.สื่อสาร เช่น E-mail,  facebook
7.ซื้อสินค้าออนไลน์
8.หารายได้ผ่าน Internet
9.เชคราคาสินค้า
10.ค้นหาที่อยุู่ เบอร์โทรศัพท์ เช่น ต้องการติดต่อบริษัท ABC