วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

ลิงค์ Blog และ Web Pirun ของเพื่อน ๆ วิชา คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนรู้

 Blog  และ  Web Pirun ของเพื่อน ๆ


นายศักดิ์ณรงค์ พุ่มเพิ่ม 5320600461
http://saknarong461.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600461

นางสาววิภาดา ทรัพย์พร้อม 5320601743
http://vipada1743.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601743

นายสุรเชษฐ์ พลฉวี 5320601778
http://surachet1778.blogspot.com
https://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601778

นายอรรถชัย จันบางยาง 5320601794
http://atthachai1794.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601794

นางสาววนิดา ทิพย์กมลธนกุล 5320602171
http://wanida171.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602171

นางสาวสุธิดา  ทะสา 5320602189
http://sutida189.blogspot.com
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602189

นางสาวนุชจิรา ปิ่นแก้ว 5320600429
http://nootjira429.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600429

นางสาวมุทิตา ชมชื่น 5320600445
http://mutita0445.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600445

 นางสาวสายสุนีย์ สืบสุข 5320601751
http://saysunee1751.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601751

นายธนะ จิตต์กระจ่าง 5320600780
http://thana0780.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600780

นางสาวปรวีร์ธิดา อัครวิวัฒกุล 5320600801
http://paulravetida0801.blogspot.com
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600801

นางสาวพชรพร ทิมอินทร์ 5320601719
http://phacharaphorn719.blogspot.com
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601719

นางสาวนิสารัตน์ กลีบบัวทอง 5320601697
http://nisarat1697.blogspot.com
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601697

นายอนุชิต หอมทอง 5320602197
http://anuchit197.blogspot.com
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602197

นางสาววนานุรัตน์ ดวงจินดา  5320602472
http://wananurat02472.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602472

นายรณกร ไข่นาค 5320602685
http://ronnakorn2685.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602685

นางสาวภัสรา เพ็งใย 5320602707
http://pussara707.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602707

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

collaborative learning การเรียนแบบร่วมมือ


ความหมาย

          เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย  โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งในงานวิจัยนี้เรียก Cooperative Learning ว่า การเรียนแบบร่วมมือ
         

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม  

1. ขั้นเตรียมการ
ผู้สอนชี้แจงจุดประสงค์ของบทเรียน
ผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย  กลุ่มละประมาณไม่เกิน  6  คน  มีสมาชิกที่
มีความสามารถแตกต่างกัน  ผู้สอนแนะนำวิธีการทำงานกลุ่มและบทบาทของสมาชิกในกลุ่ม

2. ขั้นสอน
ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียน  บอกปัญหาหรืองานที่ต้องการให้กลุ่มแก้ไขหรือคิด
วิเคราะห์  หาคำตอบ
ผู้สอนแนะนำแหล่งข้อมูล  ค้นคว้า หรือให้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการคิดวิเคราะห์
ผู้สอนมอบหมายงานที่กลุ่มต้องทำให้ชัดเจน

3. ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม
ผู้เรียนร่วมมือกันทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ  ทุกคนร่วมรับผิดชอบ ร่วมคิด  
ร่วมแสดงความคิดเห็น การจัดกิจกรรในขั้นนี้  ครูควรใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ  ที่น่าสนใจและเหมาะสมกับผู้เรียน  เช่น  การเล่าเรื่องรอบวง  มุมสนทนา  คู่ตรวจสอบ  คู่คิด  ฯลฯ
ผู้สอนสังเกตการณ์ทำงานของกลุ่ม  คอยเป็นผู้อำนวยความสะดวก  ให้ความ
กระจ่างในกรณีที่ผู้เรียนสงสัยต้องการความช่วยเหลือ

4. ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ  ขั้นนี้ผู้เรียนจะรายงานผลการทำงานกลุ่ม  
ผู้สอนและเพื่อนกลุ่มอื่นอาจซักถามเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจน  เพื่อเป็นการตรวจสอบผลงาน
ของกลุ่มและรายบุคคล

5. ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานกลุ่ม  ขั้นนี้ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกัน
สรุปบทเรียน  ผู้สอนควรช่วยเสริมเพิ่มเติมความรู้  ช่วยคิดให้ครบตามเป้าหมายการเรียนที่กำหนดไว้  และช่วยกันประเมินผลการทำงานกลุ่มทั้งส่วนที่เด่นและส่วนที่ควรปรับปรุงแก้ไข

ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ

1.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก  เพราะทุก ๆ คนร่วมมือในการทำงานกลุ่มทุก ๆ คน มีส่วนร่วมเท่าเทียมกันทำให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียน
2.ส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนมีโอกาสคิด  พูด  แสดงออก  แสดงความคิดเห็น  ลงมือกระทำอย่างเท่าเทียมกัน
3.ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
4.ทำให้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  การร่วมคิด นำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน  เป็นการส่งเสริมให้ช่วยกันคิดหาข้อมูลให้มาคิดวิเคราะห์และเกิดการตัดสินใจ
5.ส่งเสริมทักษะทางสังคม  ทำให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวในการอยู่ร่วมกันด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  เข้าใจกันและกัน
6.ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น               

หัวใจสำคัญ

        การเรียนแบบร่วมมือ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่นักเรียนมีความสามารถแตกต่างกันโดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในการเรียนร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งนักเรียนจะบรรลุถึงเป้าหมายของการเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่มไปถึงเป้าหมายเช่นเดียวกัน ความสำเร็จของตนเองก็คือความสำเร็จของกลุ่มด้วย






Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน



ความหมาย

      การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น คือ
     - รวม รูปแบบการเรียนการสอน
     - รวม วิธีการเรียนการสอน
     - รวม การเรียนแบบออนไลด์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนการเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่ อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนกับ การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่ แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่าง รวดเร็วซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามา สู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียนการสอนใน ชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียน แบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการ เติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีก ด้วย

ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบผสมผสาน
     1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
     2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
     3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
     4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
     5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
     6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
     7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
     8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
     9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่)
   10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่)
   11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่)
   12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่)
   13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
   14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
   15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง
   16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้

ข้อเสียของการเรียนรู้แบบผสมผสาน

   1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว
   2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์
   3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน
   4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง)
   5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software
   6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง
   7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
   8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้
   9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
  10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญ

หัวใจหลัก

        Blended learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี , blended learning มีการใช้
งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว , เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนแบบออนไลน์ ,
สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของ Game Online

   

ที่มา :  http://cabal.asiasoft.co.th/images/Wallpaper/Collection_1600_1200.jpg


     Game Online หมายถึง เกมที่ผู้เล่นจะต้องเล่นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต  ซึ่งหากผู้เล่นไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ก็ไม่สามารถเล่นเกมออนไลน์ได้  เกมออนไลน์เป็นเกมที่ผู้เล่นทั่วโลกจะสามารถเล่นเกมด้วยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันภายในเกม  การพูดคุยผ่านระบบออนไลน์ (Chat)

ความหมายของ Edutainment

     

ที่มา : http://edu_training.igetweb.com/article/art_483265.jpg


    Edutainment   คือ การศึกษาเชิงหรรษา  เป็นการนำความบันเทิงเข้ามาใช้จัดการศึกษา อาทิ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ พิพิธภัณฑ์ Software เกมส์ website เป็นต้น เพราะ สิ่งบันเทิงสามารถสร้างความสนใจได้มากกว่าการเรียนตามปกติ

ความหมายของ E-Learning / Learning Management System / M-Learning


ที่มา :    http://acit.npru.ac.th/webdev/u_news/news_files/20080515154807_20080511063350_20080507070702_logo_elearning.jpg


       E-Learning   หมายถึง การเรียนผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม

       Learning Management System  หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

      M-Learning (mobile learning)  คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป   (Instruction Package)  ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สายและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ  ผู้เรียนและผู้สอนใช้เครื่องมือสำคัญ คือ อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้โดยสะดวกและสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณแบบเวลาจริง ได้แก่  Notebook Computer, Portable computer, Tablet PC, Cell  Phones